photogram


photogram : Chanakarn Bunika Chatakul

บทความ โดย ภูมิกมล ผดุงรัตน์ : article by Poomkamol Phadungratna
บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารณัฐนลิน (vol. 5 No. 39 : year 2008)

Photogram โฟโตแกรม
Photogram เป็นกระบวนการภาพถ่ายชนิดหนึ่ง ที่ไม่ต้องอาศัย
อุปกรณ์ถ่ายภาพ เช่น กล้อง ฟิล์ม หรืออื่นๆ แต่เป็นเรื่องปฏิกิริยา
ของแสงกับวัตถุที่กระทบลงบนพื้นผิว – ซึ่งพื้นผิวที่ว่านี้อาจเป็น
กระดาษอัดรูป (ในกระบวนการแบบ silver prints) หรือกระดาษ
ที่เคลือบน้ำยาไวแสง (ในกระบวนการแบบ non silver prints เช่น
Cyanotype , Bromoil , Van Dyke prints, Kallitypes , Platinum
and Palladium prints etc.) หรือด้วยกระบวนการทางเคมีใดก็ได้
ตามแต่วัตถุประสงค์ – จินตนาการของแต่ละบุคคล


ความจริงแล้วการสร้างภาพด้วย Photogram มีมาก่อนที่จะเกิดเทคโนโลยีการภาพถ่ายอย่างเป็นทางการ

ในปี ค.ศ. 1802 - Thomas Wedgwood และ Humphrey Davy
ได้อธิบายขั้นตอนตอนสร้าง photogram ในหนังสือชื่อยาวเหยียด
“An Account of a Method of Copying Paintings upon Glass and Making Profiles by Agency of Light “

ในปี ค.ศ. 1834 กระบวนการที่เรียกว่า photogenic drawings ของ William Fox Talbot ก็คืองาน photogram นั่นเอง
ซึ่งเหล่านี้เกิดมาก่อนที่ daguerreotype (ดาแกร์โรไทพ์) จะประกาศตนอย่างเป็นทางการในฐานะ ”กระบวนการภาพถ่าย”
แรกของโลกในปี ค.ศ. 1839

หลังจากนั้น photogram ยังคงมีการพัฒนาไปเรื่อย
ในแง่ความคิดสร้างสรรค์ – นับแต่ปี ค.ศ. 1843 จนถึงปลายศตวรรษ บุคคลหลากหลายอาชีพอย่างเช่น Anna Atkins
นักวิจัยธรรมชาติ – ช่างภาพ / หรือศิลปิน Bertha Evelyn Jacques ต่างสร้างสรรค์ผลงานด้วย photogram โดยใช้
กระบวนการ non silver / Cyanotype เพื่อบันทึกภาพใบไม้ใบหญ้า

ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 กลุ่มศิลปิน avant – garde (คือศิลปะที่นำเสนอรูปแบบมุมมองแตกต่างไปจากของเดิม
ที่มีอยู่) หลายคนหันมาใช้ photogram สร้างสรรค์งานตามวิธีของพวกเขาเอง และยังมีการตั้งชื่อแปลกๆให้ด้วย เช่น
ศิลปินดาด้า (Dadaist) Christian Schad เรียก photogram ของเขาว่า “Schadographs”
ศิลปิน – ช่างภาพแนว surreal (1920s) Man Ray ก็เรียกงาน photogram ของตนเองว่า Rayograms

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ศิลปินหัวก้าวหน้าแห่งยุค Laszlo Moholy-Nagy ร่วมกับเหล่านักศึกษาจากสถาบันบาวเฮ้าส์
BAUHAUS ทำการทดลองศึกษาความเป็นไปได้ของ photogram ในลักษณะต่างๆมากมาย จนขยายขอบเขตออกไปสู่
งานจิตรกรรมและสื่อแขนงอื่นๆ – สืบทอดและกลายสภาพมาจนปัจจุบัน

สำหรับ photogram ในศตวรรษที่ 21 อาจไม่ใช่เรื่องน่าตื่นตาตื่นใจอีกต่อไปและอาจเป็นเพียงเทคนิคโบราณ ที่ไม่มี
ทางขยับไปไหนได้อีก ซ้ำยังดูจืดชืดน่าเบื่อ สิ้นเปลืองทรัพยากรและเวลา – อย่างไรก็ตาม เราคงไม่อาจมองข้ามความ
สำคัญของ photogram ไปได้ ทั้งในฐานะจุดเปลี่ยนทางสุนทรียศาสตร์ และทางประวัติศาสตร์ เพราะสิ่งใดก็ตามที่เรา
สามารถทำได้ด้วยระบบ digital หรือด้วยโปรแกรม photoshop ที่รวดเร็วสวยงาม มีลูกเล่นมากกว่า สามารถสร้างสรรค์
อะไรต่ออะไรได้มากมายกว่านั้น – ทั้งหมดล้วนเริ่มพัฒนามาจากเทคนิคกระบวนการสุดโบราณอย่าง photogram นี่เอง



















Comments